วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์




ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์


การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ซึ่งเราสามารถหัดประกอบด้วยตนเองได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นแรกให้เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
เช่น ไขควงสี่แฉก กล่องสำหรับใส่น็อต คู่มือเมนบอร์ด คีมปากจิ้งจก
2. เริ่มจากการติดตั้งซีพียูก่อน โดยง้างขาล็อคของซ็อกเก็ตขึ้นมาจากนั้น
นำซีพียูมาใส่ลงไปในซ็อกเก็ตโดยให้วางตำแหน่งขาที่ 1 ของซีพียูและซ็อกเก็ตให้ตรง
กัน โดยสังเกตว่าที่ขาที่ 1 ของซีพียูจะทำเครื่องหมายเป็นจุดเล็กไว้ที่มุมด้านบนของ
ซีพียู
3. เมื่อวางซีพียูตรงล็อคกับซ็อกเก็ตแล้ว จากนั้นให้กดขาล็อกลงไปเหมือน
เดิม แล้วนำซิลิโคนมาทาตรงบริเวณคอร์ (แกน) ของซีพียู และไม่ควรทาซิลิโคนให้
หนา หากเห็นว่าหนาเกินไปให้ใช้กระดาษหรือแผ่นพลาสติกมาปาดออกเสียบ้าง
4. ติดตั้งฮีทซิงค์และพัดลมลงไปบนคอร์ของซีพียู ติดล็อกให้เรียบร้อย
ในขั้นตอนนี้มีจุดที่ต้องระวังอยู่ 2 จุดคือ การติดตั้งฮีทซิงค์ของพัดลมจะต้องแนบ
สนิทกับคอร์ของซีพียู อย่าพยายามกดแรงไป บางทีคอร์ของซีพียูอาจบิ่นได้ ส่วนขา
สปริงที่ยึดพัดลมบางทีมันแข็งเกินไป บางคนใช้ไขควงพยามยามกดขาสปริง
ให้เข้าล็อก ซึ่งอาจทำให้พลาดไปขูดเอาลายปริ้นบนเมนบอร์ดขาดทำให้เมนบอร์ด
อาจเสียหายได้
5. เสียบสายไฟของพัดลมเข้ากับขั้ว CPU FAN โดยดูจากคู่มือเมนบอร์ด
6. นำแรมมาเสียบเข้ากับซ็อกเก็ตแรมโดยให้ตรงกับร่องของซ็อกเก็ต จากนั้น
จึงกดลงไปจนด้านล็อกทั้ง 2 ด้านดีดขึ้นมา (บางเมนบอร์ดตัวล็อกทั้งสองด้าน
อาจไม่จำเป็นต้องดีดขึ้นมาก็ได้ให้ดูว่าเข้าล็อกกันก็พอ)
7. ขันแท่นรองน็อตเข้ากับเคส
8. นำเมนบอร์ดที่ได้ติดตั้งซีพียูและแรมวางลงไปบนเคส จากนั้นขันน็อตยึด
เมนบอร์ดเข้ากับตัวเคสให้ครบทุกตัว
9. เสียบการ์ดแสดงผลลงไปในสล็อต AGP เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส
10. เสียบการ์ดเสียงลงไปในสล็อต PCI เสร็จแล้วขันน็อตยึดติดกับเคส
11. เสียบสายเพาเวอร์ซัพพลายเข้ากับขั้วต่อบนเมนบอร์ด โดยควรเสียบให้
ปลั๊กของสายเพาเวอร์ซัพพลายตรงล็อกกับขั้วต่อบนเมนบอร์ด
12. สอดไดรฟ์ซีดีรอมเข้ากับช่องว่างหน้าเคส แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคส
ให้แน่น
13. เสียบสาย IDE เข้ากับไดรฟ์ซีดีรอมโดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1
หรือด้านที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟและสายสัญญาณเสียงเข้าไปด้วย
14. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Secondary IDE บนเมนบอร์ด
โดยแถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย

15. สอดฮาร์ดดิสก์เข้ากับช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคสให้แน่น
16. เสียบสาย IDE เข้ากับฮาร์ดดิสก์โดยให้แถบสีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือด้าน
ที่ติดกับขั้วสายไฟ จากนั้นจึงเสียบสายไฟเข้าไปด้วย
17. เสียบสาย IDE อีกด้านเข้ากับขั้วต่อ Primary IDE บนเมนบอร์ด โดยแถบ
สีแดงตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย
18. สอดไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้ง แล้วขันน็อตยึดกับตัวเคส
ให้แน่น
19. เสียบสายไฟเข้ากับขั้วต่อสายไฟของฟล็อบปี้ดิสก์ ให้สังเกตสายไฟของ
ฟล็อบปี้ดิสก์จะมีหัวขนาดเล็กกว่าสายไฟของซีดีรอมและฮาร์ดดิสก์
20. เสียบสายแพขนาด 34 เส้น (เส้นเล็กกว่าสายแพของฮาร์ดดิสก์
และซีดีรอม) ให้ด้านที่มีการไขว้สายเข้ากับขั้วต่อไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์ โดยแถบสีแดง
ของสายแพต้องตรงกับขาที่ 1 ของขั้วต่อด้วย หากใส่ผิดด้านไฟของไดรฟ์
ฟล็อบปี้ดิสก์จะติดตลอด วิธีแก้ไขคือให้หันสายแพกลับด้านเพราะไดรฟ์ฟล็อบปี้ดิสก์
บางยี่ห้ออาจต้องใส่สลับด้านกัน
21. เสียบสายแพอีกด้านเข้ากับขั้วต่อฟล็อบปี้ดิสก์บนเมนบอร์ด โดยให้สาย
สีแดงตรงกับขาที่ 1 หรือ pin1 ของขั้วต่อด้วย
22. เสียบสายสัญญาณต่างๆ จากเคส เช่น สวิตช์เปิดปิดเครื่อง ไฟบอก
สถานะเปิดเครื่อง ไฟบอกสถานะฮาร์ดดิสก ปุ่ม Reset ลำโพง ลงบนเมนบอร์ด
ควรดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบด้วย โดยต้องเสียบขั้วให้ถูกหากผิดขั้ว คอมพิวเตอร์
จะไม่ติดหรือมีไฟค้างตลอดเวลา วิธีแก้ไขคือให้เราลองสลับขั้วและเปิดเครื่องขึ้น
มาใหม่
23. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เราลองสำรวจดูว่ามีน็อตหรืออุปกรณ์อื่นๆ
ตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ เพราะอาจทำให้เกิดกระแสไฟลัดวงจรจนเกิดความ
เสียหายต่อเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ นอกจากนี้ควรตรวจสอบ
การติดตั้งทั้งหมดว่าเรียบร้อยดีแล้ว เช่น การ์ดต่างๆ หรือสายสัญญาณเสียบ
แน่นหนาดีหรือยัง โดยเฉพาะฮีทซิงค์และพัดลมต้องแนบสนิทกับซีพียู พร้อมทั้งล็อก
ติดกันอย่างแน่นหนา
24. เมื่อเรียบร้อยดีแล้วปิดฝาเคสและขันน็อตให้เรียบร้อย ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
ขั้นตอนการประกอบเครื่องอย่างถูกต้องและสมบูรณ์แบบแล้ว
http://www.bpic.ac.th/computer/pest13.html

รายชื่อ2/6



Links 2/6
Number1 .Kanit Pitthayanurk -
Number2 .Kanachai Sompansatit
Number3. Komtad Tusaranont
Number4. Jakkrit Malithong
Number5. Jittakon Pukpun -
Number6. Napat Saingam
Number7. Jirasin Yuwachat
Number8. Nattanon Yudee
Number9. Naratorn Sawangsai
Number10. Bandit Boonsawang
Number11. Pakapol Ruengrit
Number12. Pakawat Ubonrat -
Number13. Pattarapon Penpoe -
Number14. Phattarawut Chomngam -
Number15. Pakpoom Khaidi -
Number16. Wongsakorn Jongsomjit
Number17. Suratchai Panutai -
Number18. Adisorn Bandasak -
Number19. Apisit Sapan
Number20. Kittika Chaichueai
Number21. Kuntida Namuang
Number22. Kaimuk Heebkaew
Number23. Chirawadee Srisanam
Number24. Chanikan Rodchienglam
Number25. Titirat Namkang
Number26. Nattakitta Srisukkul
Number27. Naruemon Chocksathaporn
Number28. Nunnapus Plailahan
Number29. Panisara Soowannarat
Number30. Piyanut Phatbok
Number31. Pornsiri Yuenyong -
Number32. Rapeeporn Santimalai
Number33. Wachirawan Chainobpawat
Number34. Warapon Nakwong
Number36. Warisa Khatsringam -
Number37. Wassana limsuwan
Number38. Wichitra Kerdlap
Number39. Sasinphat Soifahyanyoung
Number40. Siraporn Amonmanorom
Number41. Supatchaya Phosee
Number42. Saranporn Sawangsai
Number43. Sirikon Maneejarern
Number44. Sumalinee Maneewong
Number45. Hirunyika Kanjana
Number46. Araya Khunnarong
Number47. Oranan Keawpanlek

Visul Basic 6.0


Visul Basic 6.0 : Exercise แบบฝึกหัด วิชวลเบสิก 6.0

Exercise 1


Calendar/Time Display


Teacher Phaitoon Yaemprasuan : occupatech@gmail.com

1 Design a window application that displays the current month, day, and year. Also, display the current time, updating it every second (look into the Timer control). Make the window look something like a calendar page. Play with object properties to make it pretty.

ให้นักเรียนออกแบบหน้าต่างแอ็ปปลิเคชัน ที่แสดงเดือนปัจจุบัน วันที่ และปี และยังแสดงเวลา ณ ปัจจุบัน ที่จะอัปเดตทุกวิยาทีอีกด้วย (เหมือนกับนาฬิกาจับเวลา) หน้าต่างแอ็ปปลิเคชันนี้จะคล้ายเหมือนใบปฏิทิน และให้นักเรียนตกแต่งอ็อบเจ็กต์ต่างๆ ให้ดูดี




2 Configure the properties of the related objects like the followings.
ทำการตั้งค่าต่างๆ ให้กับอ็อบเจ็กต์ที่เกี่ยวข้อง เหมือนค่าที่กำหนดมาให้ตามนี้

Configuration 1






Configuration2




Configuration3




3 Attach the source codes to the objects. There is only the Timer "timDisplay" object that we have to attach our source codes to. Although there is no any variable declared, but we have to type the code "Option Explicit" at the General Declarations module.
ทำการผูกซอร์สโค้ด (รหัสโปรแกรม) เข้ากับอ็อบเจ็กต์ สำหรับงานนี้จะมีเพียงอ็อบเจ็กต์ไทเมอร์ ที่ชื่อ timDisplay เท่านั้น ที่เราจะต้องใส่โค้ดผูกไว้

Source codes that we have to type.


Computer

Computer Network

What is Computer Network? Why?

If any computer is not connected to others it is called "a stand-alone machine". Today if anyone uses any stand-alone machine , he must be considered a stranger because the world today is of computer networks. A network machine can send/receive packets (bits of data per second) to/from any other machines e.g. Internet. Our computers/tablet PCs/smart phones can never be alone anymore. Yes, they have been connected to their networks both local (e.g. the networks in our school) and global (e.g. Internet). We can share our resources such as files, printers etc. to each other through our local area network (LAN) or we can exchange our data through the wide area network (WAN) like Internet.


เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร? ทำไม?

ถ้าหากคอมพิวเตอร์เครื่องไหนไม่ได้เชื่อมต่อกับใคร มันจะถูกเรียกว่า "เครื่องที่โดดเดี่ยว" และถ้ามีคนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบนั้น ก็จะถูกมองว่าเพี้ยนหรือเปล่า? เพราะโลกทุกวันนี้ได้กลายเป็นโลกของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปเรียบร้อยแล้ว เครืองคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย จะสามารถส่ง/รับข้อมูล ไปสู่/จากเครื่องอื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์/แท็บเล็ต/สมาร์ตโฟน ของเรา จึงไม่อาจอยู่ได้อย่างเดียวดายอีกต่อไป เพราะมันจักต้องถูกเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ทั้งเครือข่ายท้องถิ่น (เช่น เครือข่ายภายในโรงเรียนของเรา) และเครือข่ายระดับโลก (เช่นอินเทอร์เน็ต) เรายังสามารถแบ่งปันทรัพยากร อาทิ ไฟล์ เครื่องพิมพ์ ให้กันและกันในเครือข่าย ผ่านระบบเครือข่ายเฉาะที่ (แลน) หรือเราสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายวงกว้างอย่างอินเทอร์เน็ตได้ด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น